ประวัติสมาคมฯ

ในปีพ.ศ.2538 ได้มีคณะศัลยแพทย์กลุ่มหนึ่งประกอบด้วย นายแพทย์ระวี พิมลศานติ์ นายแพทย์ประเสริฐ ไตรรัตน์วรกุล นายแพทย์เสรี เสนารัตน์ นายแพทย์กำธร สุขพันธ์โพธาราม นายแพทย์สรศักดิ์ ศรีเสาวชาติ นายแพทย์ชัยวัฒน์ คุณานุสนธิ์ และนายแพทย์ประมุข มุทิรางกูร เดินทางเข้าร่วมการประชุม International Phlebology ณ เมือง Montreal ประเทศ Canada โดยมีบริษัท Servier เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย ภายหลังการประชุมได้มีการนัดหมายปรึกษาในการก่อตั้งชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต

ในปีพ.ศ.2539 ได้มีการก่อตั้งชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย (Thai Vascular Society) เป็นผลสำเร็จ โดยมีคณะกรรมการชุดแรกดังมีรายนามต่อไปนี้

ประธานนายแพทย์ระวี พิมลศานติ์
รองประธานนายแพทย์นพดล วรอุไร
เลขาธิการนายแพทย์ประเสริฐ ไตรรัตน์วรกุล
วิชาการนายแพทย์โสภณ จิรสิริธรรม
เหรัญญิกนายแพทย์ประมุข มุทิรางกูร
กรรมการกลางนายแพทย์สุทัศน์ ศรีพจนารถ
นายแพทย์กำพล เลาหเพ็ญแสง
นายแพทย์สุวิทย์ ศรีอัษฎาพร
นายแพทย์วิวัฒน์ ถิระพานิช
นายแพทย์สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ
นายแพทย์พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ

ภารกิจหลักของชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทยในช่วงแรกได้แก่ การจัดประชุมวิชาการระหว่างโรงพยาบาล (Interhospital hospital conference) ทุก 3 เดือน โดยแต่ละสถาบันการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ นอกจากนี้ยังต้องทำการรับสมัครสมาชิกของชมรมฯในระหว่างการประชุมประจำปีของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย โดยมีค่าสมาชิกสามัญ 200 บาทต่อปี หรือ 2,000 บาทตลอดชีพ

การบริหารงานได้จัดการเลือกตั้งกรรมการบริหารทุก 2 ปี โดยมีรายนามประธานชมรม / นายกสมาคมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดังต่อไปนี้

ปีพ.ศ. 2539-2543ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ระวี พิมลศานติ์
ปีพ.ศ. 2543-2547รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ ไตรรัตน์วรกุล
ปีพ.ศ. 2547-2551ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์โสภณ จิรสิริธรรม
ปีพ.ศ. 2551-2556ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์กำพล เลาหเพ็ญแสง
ปีพ.ศ. 2556-2564ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประมุข มุทิรางกูร
ปีพ.ศ. 2564-2566ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์กำพล เลาหเพ็ญแสง

ในปีพ.ศ. 2547 ได้มีการเปลี่ยนสถานภาพของชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย (Thai Vascular Society) มาเป็นสมาคมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย (Thai Vascular Association) เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้นในการจัดกิจกรรมทางวิชาการ และการติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ

กิจกรรมทางวิชาการ

  1. การจัดประชุมวิชาการระหว่างโรงพยาบาล (Interhospital conference) เพิ่มจากทุก 3 เดือนในระยะแรก มาทำการจัดประชุมทุกเดือนในปัจจุบัน
  2. การจัดประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย เริ่มในปีพ.ศ. 2547 ปีละครั้ง เพื่อให้ความรู้ด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือดในเชิงกว้างแก่แพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ทั่วไป และศัลยแพทย์ทั่วไป
  3. การจัดประชุมวิชาการ Advanced course of vascular surgery เริ่มในปีพ.ศ. 2562 ปีละครั้ง เพื่อให้ความรู้ด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือดในเชิงลึกแก่แพทย์ประจำบ้านต่อยอดศัลยศาสตร์หลอดเลือด และศัลยแพทย์หลอดเลือด
  4. การจัดประชุมวิชาการ Basic course of Thai venous forum เริ่มในปีพ.ศ. 2562 เพื่อให้ความรู้ด้านโรคหลอดเลือดดำในเชิงกว้างแก่แพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ทั่วไป และศัลยแพทย์ทั่วไป
  5. การจัดประชุมวิชาการ Advanced course of Thai venous forum เริ่มในปีพ.ศ. 2563 เพื่อให้ความรู้ด้านโรคหลอดเลือดดำในเชิงลึกแก่แพทย์ประจำบ้านต่อยอดศัลยศาสตร์หลอดเลือดและศัลยแพทย์หลอดเลือด

การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

  1. การจัดประชุมร่วมกับราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 ปีละครั้งทุกปีจนถึงปัจจุบัน
  2. การจัดประชุม International Angiology ในปีพ.ศ. 2548 ณ โรงแรม Radisson กรุงเทพฯ โดยในครั้งนั้นมีศัลยแพทย์หลอดเลือดที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากประเทศสหรัฐอเมริกามาร่วมเป็นวิทยากรได้แก่ Professor Emeritus Robert B. Rutherford ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการทำตำรา Rutherford’s Textbook of Vascular Surgery ที่ใช้เป็นตำราศัลยศาสตร์หลอดเลือดที่ใช้ในการฝึกอบรมทั่วโลกในปัจจุบัน และ Professor Vikrom Sottiurai ศัลยแพทย์หลอดเลือดคนไทยจาก University of Louisiana มาให้ความรู้ที่มีคุณค่าอย่างมากมาย
  3. การจัดประชุม 9th Annual Meeting of Asian Society for Vascular Surgery ในปีพ.ศ. 2551 ณ โรงแรม Royal Orchid Sheraton กรุงเทพฯ
  4. การจัดประชุม 16th Annual Meeting of Asian Society for Vascular Surgery (ASVS2015) ในปีพ.ศ. 2558 ณ โรงแรม Plaza Athenee กรุงเทพฯ
  5. การจัดประชุม Aortic Asia ในปีพ.ศ. 2559 ร่วมกับสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย ณ โรงแรม Millennium Hilton กรุงเทพฯ

การฝึกอบรมต่อยอดศัลยศาสตร์หลอดเลือด

ในปีพ.ศ. 2548 สมาคมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย ร่วมกับราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย และแพทยสภา ได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดศัลยศาสตร์หลอดเลือด เป็นเวลา 2 ปีเรียบร้อยแล้ว โดยผู้รับการฝึกอบรมจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ทั่วไป และสอบได้วุฒิบัตร ในปีแรกสถาบันที่เปิดการฝึกอบรมมี 2 แห่งได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และในเวลาต่อมาได้มีสถาบันต่างๆสามารถเปิดการฝึกอบรมเพิ่มเติมอีกหลายสถาบัน ทำให้มีสถาบันที่เปิดการฝึกอบรมหลักสูตรศัลยศาสตร์หลอดเลือดในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 9 สถาบันดังนี้

ปีพ.ศ. 2548– คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
– คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีพ.ศ. 2554คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีพ.ศ. 2558– คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ปีพ.ศ. 2562คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปีพ.ศ. 2563– คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
– โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น (จัดการฝึกอบรมร่วมกัน)
ปีพ.ศ. 2564คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในปัจจุบันมีศัลยแพทย์หลอดเลือดที่สำเร็จการฝึกอบรมรวมทั้งสิ้น 104 คน

กิจกรรมทางวิชาการที่จัดร่วมกับองค์กรและสมาคมอื่นภายในประเทศ

  1. การจัดประชุมวิชาการร่วมกับราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ในการประชุมประจำปี
  2. การจัดประชุมวิชาการร่วมกับสมาคมศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  3. การจัดประชุมวิชาการร่วมกับสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย
  4. การจัดประชุมวิชาการร่วมกับสมาคมแผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย

การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

ศัลยแพทย์หลอดเลือดของประเทศไทยได้มีโอกาสแสดงผลงาน และร่วมงานการประชุมวิชาการระดันานาชาติดังนี้ VEITHsymposium ประเทศสหรัฐอเมริกา, LINC ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี , CLIC ประเทศสาธารณรัฐอิตาลี, Charing Cross Vascular Symposium ประเทศสหราชอาณาจักร, International Angiology ประเทศออสเตรเลีย, Endovascology ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, Asia-Pacific Vascular Intervention Course (APVIC) ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย