ในปีพ.ศ.2538 ได้มีคณะศัลยแพทย์กลุ่มหนึ่งประกอบด้วย นายแพทย์ระวี พิมลศานติ์ นายแพทย์ประเสริฐ ไตรรัตน์วรกุล นายแพทย์เสรี เสนารัตน์ นายแพทย์กำธร สุขพันธ์โพธาราม นายแพทย์สรศักดิ์ ศรีเสาวชาติ นายแพทย์ชัยวัฒน์ คุณานุสนธิ์ และนายแพทย์ประมุข มุทิรางกูร เดินทางเข้าร่วมการประชุม International Phlebology ณ เมือง Montreal ประเทศ Canada โดยมีบริษัท Servier เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย ภายหลังการประชุมได้มีการนัดหมายปรึกษาในการก่อตั้งชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต
ในปีพ.ศ.2539 ได้มีการก่อตั้งชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย (Thai Vascular Society) เป็นผลสำเร็จ โดยมีคณะกรรมการชุดแรกดังมีรายนามต่อไปนี้
ประธาน | นายแพทย์ระวี พิมลศานติ์ |
รองประธาน | นายแพทย์นพดล วรอุไร |
เลขาธิการ | นายแพทย์ประเสริฐ ไตรรัตน์วรกุล |
วิชาการ | นายแพทย์โสภณ จิรสิริธรรม |
เหรัญญิก | นายแพทย์ประมุข มุทิรางกูร |
กรรมการกลาง | นายแพทย์สุทัศน์ ศรีพจนารถ นายแพทย์กำพล เลาหเพ็ญแสง นายแพทย์สุวิทย์ ศรีอัษฎาพร นายแพทย์วิวัฒน์ ถิระพานิช นายแพทย์สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ นายแพทย์พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ |
ภารกิจหลักของชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทยในช่วงแรกได้แก่ การจัดประชุมวิชาการระหว่างโรงพยาบาล (Interhospital hospital conference) ทุก 3 เดือน โดยแต่ละสถาบันการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ นอกจากนี้ยังต้องทำการรับสมัครสมาชิกของชมรมฯในระหว่างการประชุมประจำปีของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย โดยมีค่าสมาชิกสามัญ 200 บาทต่อปี หรือ 2,000 บาทตลอดชีพ
การบริหารงานได้จัดการเลือกตั้งกรรมการบริหารทุก 2 ปี โดยมีรายนามประธานชมรม / นายกสมาคมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดังต่อไปนี้
ปีพ.ศ. 2539-2543 | ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ระวี พิมลศานติ์ |
ปีพ.ศ. 2543-2547 | รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ ไตรรัตน์วรกุล |
ปีพ.ศ. 2547-2551 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์โสภณ จิรสิริธรรม |
ปีพ.ศ. 2551-2556 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์กำพล เลาหเพ็ญแสง |
ปีพ.ศ. 2556-2564 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประมุข มุทิรางกูร |
ปีพ.ศ. 2564-2566 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์กำพล เลาหเพ็ญแสง |
ในปีพ.ศ. 2547 ได้มีการเปลี่ยนสถานภาพของชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย (Thai Vascular Society) มาเป็นสมาคมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย (Thai Vascular Association) เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้นในการจัดกิจกรรมทางวิชาการ และการติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ
กิจกรรมทางวิชาการ
- การจัดประชุมวิชาการระหว่างโรงพยาบาล (Interhospital conference) เพิ่มจากทุก 3 เดือนในระยะแรก มาทำการจัดประชุมทุกเดือนในปัจจุบัน
- การจัดประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย เริ่มในปีพ.ศ. 2547 ปีละครั้ง เพื่อให้ความรู้ด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือดในเชิงกว้างแก่แพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ทั่วไป และศัลยแพทย์ทั่วไป
- การจัดประชุมวิชาการ Advanced course of vascular surgery เริ่มในปีพ.ศ. 2562 ปีละครั้ง เพื่อให้ความรู้ด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือดในเชิงลึกแก่แพทย์ประจำบ้านต่อยอดศัลยศาสตร์หลอดเลือด และศัลยแพทย์หลอดเลือด
- การจัดประชุมวิชาการ Basic course of Thai venous forum เริ่มในปีพ.ศ. 2562 เพื่อให้ความรู้ด้านโรคหลอดเลือดดำในเชิงกว้างแก่แพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ทั่วไป และศัลยแพทย์ทั่วไป
- การจัดประชุมวิชาการ Advanced course of Thai venous forum เริ่มในปีพ.ศ. 2563 เพื่อให้ความรู้ด้านโรคหลอดเลือดดำในเชิงลึกแก่แพทย์ประจำบ้านต่อยอดศัลยศาสตร์หลอดเลือดและศัลยแพทย์หลอดเลือด
การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
- การจัดประชุมร่วมกับราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 ปีละครั้งทุกปีจนถึงปัจจุบัน
- การจัดประชุม International Angiology ในปีพ.ศ. 2548 ณ โรงแรม Radisson กรุงเทพฯ โดยในครั้งนั้นมีศัลยแพทย์หลอดเลือดที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากประเทศสหรัฐอเมริกามาร่วมเป็นวิทยากรได้แก่ Professor Emeritus Robert B. Rutherford ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการทำตำรา Rutherford’s Textbook of Vascular Surgery ที่ใช้เป็นตำราศัลยศาสตร์หลอดเลือดที่ใช้ในการฝึกอบรมทั่วโลกในปัจจุบัน และ Professor Vikrom Sottiurai ศัลยแพทย์หลอดเลือดคนไทยจาก University of Louisiana มาให้ความรู้ที่มีคุณค่าอย่างมากมาย
- การจัดประชุม 9th Annual Meeting of Asian Society for Vascular Surgery ในปีพ.ศ. 2551 ณ โรงแรม Royal Orchid Sheraton กรุงเทพฯ
- การจัดประชุม 16th Annual Meeting of Asian Society for Vascular Surgery (ASVS2015) ในปีพ.ศ. 2558 ณ โรงแรม Plaza Athenee กรุงเทพฯ
- การจัดประชุม Aortic Asia ในปีพ.ศ. 2559 ร่วมกับสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย ณ โรงแรม Millennium Hilton กรุงเทพฯ
การฝึกอบรมต่อยอดศัลยศาสตร์หลอดเลือด
ในปีพ.ศ. 2548 สมาคมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย ร่วมกับราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย และแพทยสภา ได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดศัลยศาสตร์หลอดเลือด เป็นเวลา 2 ปีเรียบร้อยแล้ว โดยผู้รับการฝึกอบรมจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ทั่วไป และสอบได้วุฒิบัตร ในปีแรกสถาบันที่เปิดการฝึกอบรมมี 2 แห่งได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และในเวลาต่อมาได้มีสถาบันต่างๆสามารถเปิดการฝึกอบรมเพิ่มเติมอีกหลายสถาบัน ทำให้มีสถาบันที่เปิดการฝึกอบรมหลักสูตรศัลยศาสตร์หลอดเลือดในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 9 สถาบันดังนี้
ปีพ.ศ. 2548 | – คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล – คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
ปีพ.ศ. 2554 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีพ.ศ. 2558 | – คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า |
ปีพ.ศ. 2562 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ปีพ.ศ. 2563 | – คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น – โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น (จัดการฝึกอบรมร่วมกัน) |
ปีพ.ศ. 2564 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ในปัจจุบันมีศัลยแพทย์หลอดเลือดที่สำเร็จการฝึกอบรมรวมทั้งสิ้น 104 คน
กิจกรรมทางวิชาการที่จัดร่วมกับองค์กรและสมาคมอื่นภายในประเทศ
- การจัดประชุมวิชาการร่วมกับราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ในการประชุมประจำปี
- การจัดประชุมวิชาการร่วมกับสมาคมศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- การจัดประชุมวิชาการร่วมกับสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย
- การจัดประชุมวิชาการร่วมกับสมาคมแผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย
การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ศัลยแพทย์หลอดเลือดของประเทศไทยได้มีโอกาสแสดงผลงาน และร่วมงานการประชุมวิชาการระดันานาชาติดังนี้ VEITHsymposium ประเทศสหรัฐอเมริกา, LINC ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี , CLIC ประเทศสาธารณรัฐอิตาลี, Charing Cross Vascular Symposium ประเทศสหราชอาณาจักร, International Angiology ประเทศออสเตรเลีย, Endovascology ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, Asia-Pacific Vascular Intervention Course (APVIC) ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย